
รามเกียรติ์ 24
ในรามเกียรติ์ฉบับของไทยเราเล่าว่า พระรามเจอรามสูรที่มานอนขวางทางอยู่ ท้าวทศรถขอให้หลีกทางก็ไม่ยอม จะสู้กับพระรามท่าเดียว จนพระรามรบชนะ รามสูรจึงมอบศรให้แก่พระราม และภายหลังพระรามฝากศรเล่มนั้นกับพระพิรุณและมาใช้ต่อสู้ในภายหลัง แต่ผมชอบของรามายณะมากกว่า เพราะดู Classic กว่านิดนึงครับ
ขบวนคู่บ่าวสาวใหม่มาถึงอโยธยา ประชาชนตั้งแถวรับเจ้าชายและเจ้าหญิงองค์ให่มนอกกำแพงเมือง ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า องคืรามและสีดาคือคู่รักในอุดมคติ แลดูทั้งคู่ดุจเทพประทับข้างกันดั่งพระนารายณ์และพระแม่ลักษมี ทุกคนไม่ว่าลูกเล็กคนแก่ไม่สามารถวางตาจากสีดาได้ เธองานเหลือเกิน งามจนไม่มีหญิงใดในอโยธยากล้าท้าทาย
สายตาขององค์รามทำให้ประชาชนทุกคนภักดี ภักดีอย่างลูกมองพ่อ ไม่นานนักสองคู่บ่าวสาวลงจากรถปรี่เข้าจุมพิตเท้าท้าวของพระสนมทั้งสาม โดยเฉพาะสีดาเธอประกอบจารีตอย่างแม่นยำ สีดาคลานเข่าเข้าไปสัมผัสเท้าพ่อสามี พระชนกจำศรีษะเธอเบาๆ “ตามสบายในอโยธยานะลูก ลูกสาวของพ่อ” พระราชาชรามิอาจกลั้นน้ำตาแห่งความตื่นตันใจ สีดาหมอบคลานสู่ขาคู่ใกล้ๆ พร้อมจุมพิตที่เท้าของนางเกาสุริยา และใช้ผ้าที่โพกหัวเช็ดเท้าแม่ของสามีอย่างบรรจง “มาลูกสาวเรา พิธีรีตองนี้แม่ไม่ต้องการ แม่อดใจไม่ไหวที่จะได้ดูหน้าสีดาของแม่อย่างชัดชัด …..โอ้สีดาไม่มีแม่สามีคนไหนในโลกจะมีความสุขเท่าเราอีกแล้ว สีดานั้นคือแม่สามีของเจ้าอีกสองคน แม่ไกรเกษีผู้กล้าหาญ และแม่สมุทรเทวีผู้อ่อนหวาน จงไปรับพรจากท่านทั้งสองสิ” บรรยากาศการรับสมาชิกฝ่ายในฮโยธยาคนใหม่ดำเนินไปชื่นมื่น
ในช่วงเวลาสองสามวันหลังจากที่องค์รามกลับมา ดูเหมือนท้าวทศรถจะทรงปลีกตัวอยู่คนเดียว เหมือนครุ่นคิดอะไรซะอย่าง จนถึงวันที่ต้องออกท้องพระโรง หลังจากทรงงานจนครบถ้วยพระราชาชรายืนขึ้น “เราได้ครองแผ่นดินอโยธยาต่อจากเสด็จพ่อ ท้าวอัชบาลมามากกว่าร้อยปีแล้ว ขณะนี้เราก็ชรามาก ตามราชประเพณีกษัตริย์ควรออกบวช ปฎิบัติธรรมก่อนจะสิ้นอายุไขย เราจึงขอประกาศว่า พรุ่งนี้เราจะประกอบพิธีมอบราชสมบัติผ่านให้แก่องค์ราม ลูกชายคนโตของเรา” ทุกคนในที่ประชุมยินดีโห่ร้องอย่างดีใจ มีแต่องค์รามที่คุกเข่า “ขอร้องเถอะเสด็จพ่อ ท่านยังแข็งแรงอย่ามอบภาระอันหนักหนานี้แก่ลูกในเวลานี้เลย ลูกยังเยาว์นัก” องค์รามขอร้องให้พระบิดาทบทวนการตัดสินใจอีกหน “รามลูกรัก พ่อเห็นเจ้าตั้งแต่เกิด เจ้าไม่เคยทำให้ใครผิดหวังเลย เจ้ามีแต่ความรักให้ทุกคน ไม่ไม่สิเจ้ารักทุกชีวิตในอโยธยาต่างหาก รามถึงเวลาที่พ่อจะพักผ่อน ใช้เวลากับการศึกษาธรรมในบั้นปลายแห่งชีวิต” ท้าวทศรถกล่าวตอบด้วยเหตุผลที่องค์ปฏิเสธต่อไปไม่ได้ ข่าวการสละราชสมบัติและหมายกำหนดการพิธีราชาภิเษกของพระราชาแห่งอโยธยาองค์ใหม่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว นางกุจจี หลังค่อมข้าหลวงผู้ติดตามนางไกรเกษีรีบรุดเข้าหานายของตน “พระนางไกรเกษีของบ่าว
พระนางทราบข่าวร้ายหรือยัง” พระราชินีองค์ที่สองแห่งอโยธยา นางไกรเกษีทำหน้างงๆ “ข้าได้ยอนแต่ข่าวดี ที่องค์รามจะขึ้นครองราชย์แทนเสด็จพี่ ข่าวร้ายอะไรของเจ้า” นางค่อมตอบทันควัน “จะเป็นข่าวดีได้อย่างไร เมื่อองค์รามขึ้นครองราชย์ องค์ลักษณ์ก็จะเป็นอุปราช … แล้วพระพรตหละ พระพรตจะไม่มีที่ยืนในอโยธยา ท่านถูกพระรามข่มเหงให้ไม่สามารถมีอำนาจในนครใดๆ” นางไกรเกษีเริ่มคิดหนัก “ไม่หรอกรามจะไม่ทำอย่างนั้น” นางกุจจียุยงต่อ “ทูลกระหม่อมของบ่าว ท่านลองทบทวนดูดีๆสิว่าพระพรตจะมีความหมายอะไรหลังจากนี้” ด้วยความเป็นห่วงลูกนางไกรเกษีตระหนกถึงความมั้นคงของลูกรัก “แล้วจะให้เราทำอย่างไรหละคุณท้าว” นางกุจจีแม้จะหลังค่อมและชราไปมาแต่ความจำไม่เสื่อมถอย ความแค้นที่มีต่อองค์รามครั้งเมื่อการลองธนูที่ทำให้ตนขายหน้ายังแน่นอยู่ในใจ “เอาอย่างนี้สิ…….”