
ส่วนสุดท้ายสำหรับหุ้นปันผล ก็จะมีประวัติการปันผลย้อนหลัง ตั้งแต่เปิดกองทุนขึ้นมา ตรงนี้มีประเด็นหลายคนอาจจะงงว่า ทำไมมี 2 วัน วันปิดสมุดทะเบียนกับวันปันผล
วันปิดสมุดทะเบียน หรือ XD Date คือวันที่เช็คชื่อว่าใครจะได้รับปันผลนั่นเอง ถ้าคุณมีกองทุนในวันที่ขึ้น XD นั้น ก็จะเป็นการการันตีแน่นอนว่าได้รับปันผลและวันนี้จะเป็นวันที่ NAV มักจะมีการลดลงตามจำนวนเงินปันผลที่จ่ายออกมา (แต่ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ หุ้นที่กองทุนถืออาจจะขึ้นหรือลงในวันนั้นเพิ่มเติมก็ได้) ส่วนเงินที่เราจะได้ จะได้ในช่วงวันที่ปันผลนั่นเอง
จะสังเกตได้ว่าการคัดเลือกกองทุนนั้นมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องมองมากมายมากกว่าผลตอบแทนย้อนหลัง อีกมุมนึงที่จะลืมไปไม่ได้ คือนักลงทุนทุกท่านควรเปรียบเทียบคัดเลือกกองทุนโดยอย่าดูกองทุนเพียงแค่ตัวเดียว ควรที่จะเปรียบเทียบกองต่างๆในกลุ่มเพื่อให้มั่นใจว่ากองนั้นๆ มีนโยบายการลงทุนที่ตรงกับความต้องการของนักลงทุนเอง และมีผลการดำเนินงานในแง่มุมต่าง ๆ ที่ดี
คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว
เริ่มลงทุนจริง!
อัพเดท 16 ม.ค. 2564 อยากดูแบบละเอียด เดฟเรนเจอร์ออกบทความใหม่ คลิกไปดูได้เลย พาเปิดบัญชีซื้อกองทุนรวม นั่งอยู่บ้าน 15 นาที ไม่ต้องส่งเอกสาร พร้อมเทียบให้หมด ที่ไหนเปิดที่เดียวซื้อได้ทุกบลจ. บ้าง
หากนักลงทุนมีสัดส่วนพอร์ตการลงทุนในใจหรือกองทุนที่ต้องการจะลงทุนได้แล้ว ก็ถึงเวลานำเงินไปลงทุนจริงกันเสียที โดยทางเลือกในตลาดปัจจุบันก็มีอยู่หลายทางเลือก แบ่งได้ตามนี้
- เปิดพอร์ตลงทุนกับธนาคาร
นักลงทุนสามารถเดินเข้าไปที่สาขาธนาคารใกล้บ้านท่านและเปิดบัญชีได้ทันที ซึ่งบางธนาคารนอกจากจะลงทุนในกองทุนของบลจ. ตัวเองแล้ว ก็เริ่มจะเปิดให้สามารถลงทุนในกองทุนของบลจ. อื่นข้างเคียงด้วยอาทิเช่น TMB Advisory, TISCO เป็นต้น - เปิดพอร์ตกับ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)
อาทิเช่น Nomura, Phillip ซึ่งกลุ่มนี้จะมีจุดเด่นด้านการที่สามารถซื้อกองทุนได้ในหลายๆ บลจ. ในที่เดียวรวมถึงสามารถเปิดบัญชีเสริมเพื่อซื้อ SSF, RMF ได้อีกด้วย - เปิดพอร์ตกับ FINNOMENA
สำหรับข้อสุดท้ายเป็นการเปิดพอร์ทกับ FINNOMENA ซึ่งมีข้อดีคือ ลงทุนได้หลายบลจ. (ปัจจุบันมี 19 บลจ. ชั้นนำของไทยครบหมดแล้ว) รวมถึงสามารถใช้บริการ FINNOMENA PORT ซึ่งเป็นบริการออกแบบพอร์ตการลงทุนอัตโมมัติพร้อมคอยแนะนำปรับพอร์ตให้คุณเมื่อจำเป็นอีกด้วย ทุกอย่างสามารถทำผ่านทั้งเว็บไซต์และแอพพลิเคชันได้ทันที
คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว
คำถาม หรือ ศัพท์ที่พบบ่อย
- กองทุน 2 กอง ตัวนึง NAV สูงมาก อีกตัว NAV ต่ำกว่า หมายความว่าตัวที่สองถูกกว่า มีโอกาสได้กำไรมากกว่าใช่หรือไม่?
คำตอบ ไม่ใช่ เพราะสุดท้ายสิ่งที่จะทำให้เราได้กำไรจากการลงทุนคือผลตอบแทนเป็น % กองทุนที่ NAV สูงอาจจะแค่เปิดกองทุนมานานกว่า (และทำผลตอบแทนเป็นบวกมา) สุดท้ายเมื่อเราเข้าซื้อก็ต้องดูกันต่อไปว่ากองทุนนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนต่อไปได้หรือไม่ ทั้งนี้ไม่ต้องห่วงว่ากองนั้น NAV สูงแล้วเราจะซื้อได้น้อย เราเพียงแค่ต้องการซื้อในจำนวนเงินที่มากกว่าขั้นต่ำของกองก็เพียงพอ บลจ. จะนำเงินของเราไปหารด้วย NAV ออกมาเป็นหน่วยลงทุนซึ่งมีจุดทศนิยมได้ 4 ตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุนเต็มหน่วยแต่อย่างใด
- ติดดอย คืออะไร?
คำตอบ เป็นคำแสลงตลก ๆ ที่นักลงทุนชอบเรียกกันเวลาขาดทุน เมื่อต้นทุนของเราอยู่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบันมากๆ ก็เปรียบเสมือนตัวเรา (ต้นทุน) อยู่บนดอยสูง ๆ นั่นเอง
จุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown)
ถ้าคุณต้องการความสงบของจิตใจ สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ดูไม่ได้
เพราะถ้าคุณขาดทุน …. 30% คุณต้องทำกำไรกลับมาถึง 43% เพื่อให้คืนทุน
ถ้าขาดทุน 50% ต้องทำกำไรกลับมา 100%
ถ้าขาดทุน 90% ต้องทำกำไรกลับมา 900%
ยิ่งขาดทุนมาก โอกาสในการทำกำไรกลับมายิ่งยาก โอกาสเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่ายิ่งไม่มี
กองทุนใด ๆ ก็ตาม ที่สามารถจำกัดการขาดทุนได้ดี เมื่อเกิดการขาดทุนย่อมสามารถฟื้นกลับขึ้นมาได้ง่ายกว่า ไม่เหนื่อยเหมือนกองทุนที่ขาดทุนลึกนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ไม่ต้องไปนั่งเปิดกราฟดูเอง FINNOMENA ทำมาให้ดูง่าย ๆ ด้วย 3D Diagram เรียบร้อย โดยยิ่งสามเหลี่ยมใหญ่มากขึ้นก็แสดงว่ากองทุนนั้นมีปัจจัยด้านนั้น ๆ ที่ดีนั่นเอง!
คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว
กราฟกองทุน SCBMSE ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ต่อมาขอเอาใจสาย Technical กันหน่อย เมื่อกดไปที่แท็บ “กราฟ” ก็จะขึ้นกราฟกองทุนของ TradingView มาให้ครับ ตรงนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงกราฟได้ และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้เต็มที่เลย
คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว
ผลการดำเนินงานกองทุน SCBMSE ณ วันที่ 27 พ.ย. 2563
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ส่วนต่อมาจะเป็น ตารางผลตอบแทนย้อนหลัง สามารถคลิกแถบด้านบนตรง “ผลการดำเนินงานและปันผล” ได้เลย ซึ่งตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่ปันผล หรือ ไม่ปันผลก็สามารถดูได้เหมือนกัน ทาง FINNOMENA มีการคำนวณรวมมาให้แล้ว นอกจากผลการดำเนินงานหรือ Performance ของกองทุนนั้นๆ แล้วยังมีตัวเลขค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานของกองทุนในกลุ่มเดียวกัน รวมไปถึงสามารถตรวจสอบตำแหน่งเมื่อเทียบเป็นร้อยละ (Percentile) ว่า ผลตอบแทนของกองทุนนี้อยู่ในกลุ่มใด ถ้า “ดีที่สุด” หมายความว่ากองทุนนั้นมีผลตอบแทนอยู่ในช่วงร้อยละ 1-5 เมื่อเทียบกับกองทุนทั้งหมด
ฝั่งขวามือจะมีข้อมูลเชิงความเสี่ยง อย่าง Standard Deviation หรือค่าความผันผวนของกองทุน ตัวเลขนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี ความผันผวนที่ต่ำแสดงให้เห็นถึงการจัดการความเสี่ยงที่ดีของกองทุน และจากข้อมูลย้อนหลังที่ผ่านมากองทุนที่มีการจัดการความเสี่ยงดีมักจะมีผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ส่วนอีก 2 อันอย่าง Risk-Adjusted Return กับ Max Drawdown เหมือนที่เล่าไปด้านบนครับ