
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจในประเทศไทยชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย ลูกจ้างทั่วไป พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา นักเรียนนักศึกษา หรือแม้แต่พนักงานประจำ
ล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น แต่หากเรามองให้ดี สถานการณ์ในครั้งนี้ได้มอบบทเรียนสำคัญให้เราทุกคน มีสติ ไม่ประมาท และเริ่มต้นวางแผนชีวิตสำหรับการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอีกครั้ง ซึ่งนอกจากปัจจัย 4 แล้ว ในยุคปัจจุบัน “ความมั่นคงทางการเงิน” ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน จนถือได้ว่าเป็นปัจจัย 5 ของการดำรงชีวิต วันนี้เราจึง มีแนวทางในการปรับตัวเพื่อตั้งรับเชิงรุกกับชีวิตวิถีใหม่หลังสถานการณ์โควิด-19
“ปรับตัวให้เข้ากับสังคมยุคใหม่…ที่ไร้เงินสด” จากกระแสการทำงานที่บ้าน และ การเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้พฤติกรรมการใช้เงินสดของเราลดลง และหันมาใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เพราะนอกจากจะรวดเร็ว และสะดวกสบายแล้ว ยังปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะแฝงมากับธนบัตรและเงินเหรียญ ได้อีกด้วย ผลที่จะตามมาหลังจากนี้ คือ การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว เพราะผู้คนอาจเคยชินกับการซื้อของออนไลน์ไปแล้ว และเริ่มรับรู้ว่าการใช้เงินสดมีข้อเสียอย่างไร นอกจากการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์แล้ว ยังมีโอกาสที่สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารอาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
“ปรับตัวให้เข้ากับสังคมยุคใหม่…ที่ไร้เงินสด” จากกระแส Work from Home และ Social Distancing ทำให้พฤติกรรมการใช้เงินสดของเราลดลง และหันมาใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เพราะนอกจากจะรวดเร็ว และสะดวกสบายแล้ว ยังปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะแฝงมากับธนบัตรและเงินเหรียญ ได้อีกด้วย ผลที่จะตามมาหลังจากนี้ คือ การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว เพราะผู้คนอาจเคยชินกับการซื้อของออนไลน์ไปแล้ว และเริ่มรับรู้ว่าการใช้เงินสดมีข้อเสียอย่างไร นอกจากการทำธุรกรรมการเงิน ออนไลน์แล้ว ยังมีโอกาสที่สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารอาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
“จัดระบบการเงินให้เข้าที่…จัดระเบียบการออมให้เข้าทาง” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เราจะเริ่มต้น วางแผนการใช้จ่ายเงินให้เข้าที่ ด้วยการจัดสรรและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทให้ชัดเจน อาทิ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก รวมถึงเริ่มสร้างนิสัยในการออมเงินในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งเหมาะกับคนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ เมื่อแก่ตัวไปจะได้มีเงินใช้ในวัยเกษียณ
การปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมอาจดูเป็นเรื่องยากในช่วงแรก แต่ถ้าเราปฏิบัติจนเกิดเป็นความเคยชิน ก็จะสามารถทำได้จนเป็นความปกติในวิถีใหม่ ต่อจากนี้ไป วิถีชีวิตใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ทั้งส่วนตัว ครอบครัว การงาน การเงิน และเราจะมีชีวิตอย่างมีความสุขไปด้วยกัน
ผมคิดว่าบริบทของคนไทยกับคนสวิตเซอร์แลนด์ไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทั้งระบบภาษี กฏหมาย วัฒนธรรม การใช้จ่าย นิสัยส่วนตัว ค่านิยม จึงไม่สามารถบอกได้ว่า หลักการคิดของคนสวิสเซอร์แลนด์จะเหมาะสมสำหรับคนไทย
- คนสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีนิสัยการอวดรวย ถ้าใครที่อวดรวยกลับถูกคนอื่นมองว่า ขี้อวด ดังนั้นวัฒนธรรมบริโภคนิยมแบบอเมริกันจึงไม่สามารถใช้ได้ในประเทศนี้ ถ้าพูดกันแบบตรงๆ ไม่โกรธกัน คนไทยมีนิสัยขี้อวดรวยมากกว่า และการอวดรวยสามารถแสดงออกได้ในหลายรูปแบบ บางคนอวดบ้าน อวดรถ อวดนาฬิกา อวดเครื่องประดับ อวดเงินเก็บในธนาคาร
การที่ไม่มีนิสัยเอาความรวยมาเบ่งทับกัน จึงมองว่า เงินไม่ใช่วัตถุเพื่อการสะสม แต่เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย
ดังนั้นคนสวิตเซอร์แลนด์จึงไม่ได้มีความปรารถนาที่จะเก็บสะสมเงินเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งของตนเองแต่อย่างใด - คนสวิตเซอร์แลนด์เป็น Perfectionists คือนิยมชมชอบความสมบูรณ์แบบ ดังนั้นสินค้าและบริการจะต้องมีอรรถประโยชน์ มีคุณภาพสูงสุด ไม่นิยมสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพต่ำ
เราจะสังเกตได้จาก สินค้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา ของประกับตกแต่งบ้าน มีดพับ มีคุณภาพที่สูงมาก มีดพับ Victorinox เน้นเรื่องอรรถประโยชน์การใช้สอยแบบสูงสุด แต่ไม่เน้นเรื่องรูปแบบดีไซน์
ดังนั้นคนสวิตเซอร์แลนด์จึงยอมจ่ายแพง เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดี มีประโยชน์ใช้สอยสูง เพราะเขาถือว่าซื้อครั้งเดียวใช้ได้เป็นสิบปี ดีกว่าซื้อมาไม่นานก็ต้องเปลี่ยน