
กองทุนส่วนบุคคล คือ การบริหารจัดการเงินลงทุนของลูกค้า ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคล ที่มอบหมายให้บริษัทจัดการเป็นผู้บริหารจัดการลงทุนแทน โดยลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน ข้อจำกัดการลงทุนของลูกค้า โดยอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เพื่อตอบสนองความต้องการและแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าตามที่ได้คาดหวังไว้
โดยบริษัทจัดการจะมีหน้าที่จัดสรรเงินลงทุนในหลักทรัพย์ การคัดเลือกหลักทรัพย์ และการจับจังหวะการลงทุนของตลาดตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบและข้อจำกัดการลงทุนที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้า ทำให้รูปแบบการลงทุนมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละท่านได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือเงินกองทุนจะเป็นของลูกค้า อยู่ภายใต้ชื่อของลูกค้า โดยมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วยเพื่อเป็นการบอกถึงสิทธิ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้า และการเสียภาษีจากการลงทุนของลูกค้าจะเป็นไปตามตามประเภทของลูกค้า เช่น ลูกค้าบุคคลธรรมดา ก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนลูกค้านิติบุคคล ก็เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล เป็นต้น
ด้านบริษัทจัดการลงทุนเมื่อรับบริหารเงินลงทุนแล้ว ต้องดำเนินการแต่งตั้ง “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” (Custodian) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพย์สิน ตลอดจนติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลนั้น
ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนได้
ผู้ลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน ตราสารทุน หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทต่างๆ หน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนตราสารอนุพันธ์และสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ อาทิ ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ทั้งในและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น
ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Management Fee) ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละต่อปีของมูลค่าทรัพย์สิน
ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Fee)
ค่าธรรมเนียมอื่น เช่น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี (ถ้ามี) เป็นต้น
จุดเด่นของกองทุนส่วนบุคคล
มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการลงทุนได้ตามที่ผู้ลงทุนต้องการ และปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ
ลดภาระในการดำเนินงานเพื่อการลงทุน โดยผู้ลงทุนจะสะดวกและประหยัดเวลาในการวางแผนและติดตามการลงทุน ตลอดจนการซื้อขายหลักทรัพย์ และการลงบัญชีทรัพย์สินด้วยตนเอง
บริหารเงินลงทุนโดยมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง สามารถวิเคราะห์การลงทุนและเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้อย่างกว้างขวางและทันต่อเหตุการณ์
พอร์ตการลงทุนมีการกระจายความเสี่ยง ที่เหมาะสม เพื่อให้ตรงกับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้
ช่องทางการเข้าถึงประเภทหลักทรัพย์ลงทุนที่หลากหลาย ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ
อำนาจในการต่อรองที่สูงขึ้น จากที่บริษัทจัดการบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ ย่อมเอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุนได้มากกว่า
การบริหารจัดการลงทุนที่เป็นระบบ มีความเที่ยงตรง และสามารถจัดทำรายงานการลงทุนได้ทุกวัน ทำให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างใกล้ชิด
ในธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บลจ.ไทยพาณิชย์ ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 ครองส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 43.7% ของอุตสาหกรรมธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 357,546 ล้านบาท (หมายเหตุ : 1.ที่มา : www.scbam.com / 2.ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
โดยให้บริการกับลูกค้าสถาบันในหลากหลายธุรกิจ อาทิ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ธุรกิจประกัน มูลนิธิ สหกรณ์ออมทรัพย์ และ บริษัทเอกชนต่างๆ ตลอดจนลูกค้าบุคคลธรรมดา
ภาพอธิบายการทำงานของกองทุนส่วนบุคลลโดยบลจ.ไทยพาณิชย์
ทำไมต้องลงทุนกองทุนส่วนบุคคลกับ บลจ. ไทยพาณิชย์
บลจ.ไทยพาณิชย์มีความเชี่ยวชาญในการดูแลลูกค้า ทั้งหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชนชั้นนำ และลูกค้าธนบดี
บลจ.ไทยพาณิชย์เข้าถึงการลงทุนที่หลากหลาย และครบวงจรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยความแข็งแกร่งของ SCB Group และ Partner
ลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ลงทุนตราสารต่างประเทศผ่านทางกองทุนส่วนบุคคลของบลจ.ไทยพาณิชย์ สามารถบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยเลือกป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวนเงินลงทุน
บลจ.ไทยพาณิชย์มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 มีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่า เพื่อให้ได้ราคาที่เป็น Best Execution เอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุนได้มากกว่า
สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางกระบวนการจัดการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ โดยมีรางวัลยืนยันความสำเร็จ/ Fitch Ratings
ค่าธรรมเนียมการจัดการที่เป็นธรรม