
หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเลือกกองทุนดัชนีที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณอย่างไร ขอให้คุณพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
รูปแบบการลงทุน หากคุณต้องการลงทุนเพื่อการเติบโตในระยะยาว การลงทุนดัชนีหุ้นดูจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่หากคุณต้องการความมั่นคง คุณอาจเลือกลงทุนในดัชนีตราสารหนี้
ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ คุณยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ความเสี่ยงเฉพาะของกองทุนมีอะไรบ้าง กองทุนดัชนีนี้ตอบโจทย์ความต้องการลงทุนไหม
ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมเวลาซื้อกองทุนแพงไหม แล้วเวลาขายกองทุนจะโดนหักเยอะมั้ย ค่าใช้จ่ายกองทุนถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับกองทุนดัชนีอื่น
วิธีดูว่ากองทุนใดเป็นกองทุนดัชนี
หากคุณสงสัยว่ากองทุนที่คุณดูอยู่เป็นกองทุนดัชนีหรือไม่ คุณเพียงแค่คลิกดูหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ หากกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนเป็นดังที่แสดงในภาพด้านล่างแล้วล่ะก็ กองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนดัชนี
ในกรณีที่คุณคลิกหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม หากนโยบายการลงทุนเป็นแบบภาพด้านล่างล่ะก็ กองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนดัชนี
สรุป
กองทุนดัชนี (Index Fund) คือกองทุนรวมหรือกองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนเลียนแบบดัชนีอ้างอิง เช่น SET50, S&P500 และ DJIA เป็นต้น
กองทุนดัชนีใช้ลงทุนเชิงรับที่มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด พูดง่าย ๆ คือ หากดัชนีวิ่งขึ้น 5% กองทุนดัชนีควรจะวิ่งขึ้นให้ได้ใกล้เคียง 5% มากที่สุด
กองทุนดัชนีมาพร้อมกับความเสี่ยงต่ำ ค่าใช้จ่ายต่ำ ผลตอบแทนระยะยาวและเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ แต่นักลงทุนก็ต้องยอมรับการขาดความยืดหยุ่น ผลตอบแทนที่จำกัดและการยอมรับว่าผลตอบแทนอาจเบี่ยงเบนจากดัชนีอ้างอิง (มากกว่าหรือน้อยกว่าดัชนีอ้างอิง)
กองทุนดัชนีมีต้นทุนการบริหารต่ำกว่ากองทุนแบบ Active Fund เพราะกองทุนดัชนีเพียงแค่เลียนแบบการลงทุนแบบเดียวกับดัชนี ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องจ้างบุคลากรในการค้นหาหลักทรัพย์แต่อย่างใดและดัชนีมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบไม่กี่ครั้งต่อปี ทำให้กองทุนดัชนีมีจำนวนธุรกรรมน้อยครั้งกว่า
ขณะที่กองทุนแบบ Active Fund จำเป็นต้องจ้างทีมงานค้นคว้าหาหลักทรัพย์ที่ใช่เข้ากองทุน ทำให้มีการทำธุรกรรมบ่อยครั้งกว่าและค่าใช้จ่ายสูงกว่า
ค่าใช้จ่ายของกองทุนดัชนีต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กองทุนแบบ Active Fund มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1% จนถึง 2.5%
ค่าใช้จ่ายที่น้อยลง = จำนวนเงินลงทุนมากขึ้น = $$$ ที่มากขึ้นนั่นเอง
ความเสี่ยงต่ำ
เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน การกระจายการลงทุนสินทรัพย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัญหาคือนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่มีเงินมากพอที่จะกระจายการลงทุน ทำให้กองทุนดัชนีเป็นตัวเลือกที่ดีในการกระจายการลงทุน เพราะคุณสามารถลงทุนในสินทรัพย์นับร้อย นับพันรายการด้วยเงินเริ่มต้นหลักร้อยเท่านั้น
ผลตอบแทนน่าสนใจ
ถึงแม้ดัชนีจะมีขึ้นลงตามหลักทรัพย์ที่อ้างอิง แต่ในระยะยาวแล้ว กองทุนดัชนีสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนแบบ Active Fund
ข้อเสียของกองทุนดัชนี
ขาดความยืดหยุ่น
เพราะกองทุนดัชนีจำเป็นต้องลงทุนเลียนแบบดัชนีอ้างอิง ทำให้ยามดัชนีอ้างอิงเป็นบวก คุณจะเห็นตัวเลขสีเขียวพร้อมรอยยิ้ม แต่หากดัชนีอ้างอิงดิ่งลงอย่างรุนแรง กองทุนดัชนีก็ดิ่งทะลุนรกไม่ต่างกัน คุณจะเห็นตัวเลขสีแดงบาดจิตบาดใจและทำอะไรไม่ได้ ยกเว้นแต่ขายออก (พร้อมผลขาดทุนยับยู่ยี่)
ผลตอบแทนจำกัด
เพราะเป้าหมายของกองทุนดัชนีคือการทำผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด โอกาสที่คุณจะได้รับผลตอบแทนเหนือกว่าตลาดจึงแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งแตกต่างจากกองทุนแบบ Active Fund ที่เน้นการทำผลตอบแทนมากกว่าตลาด (แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าตลาดเช่นกัน)
Tracking Error
Tracking Error คือความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของกลุ่มการลงทุนจะเบี่ยงเบนจากดัชนีอ้างอิง หรือก็คือกองทุนดัชนีจะทำผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงแค่ไหน ซึ่งคุณควรเลือกลงทุนกองทุนดัชนีที่มี Tracking Error ต่ำ