ช่วงสิ้นปีทีไร พี่ทุยบอกได้เลยว่าเรื่องที่ถูกถามเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีมากที่สุด ก็คือ เรื่อง “เงื่อนไขการซื้อ RMF” หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ กองทุนรวมเพื่อนการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) เอาจริง ๆ พี่ทุยก็รู้สึกดีใจไม่น้อยนะที่คนเริ่มสนใจใช้ในการลดหย่อนภาษีกันมากขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เราเก็บเงินได้ดีขึ้น
สำหรับ “เงื่อนไขการซื้อ RMF” ที่ทุกคนชอบสอบถามกัน พี่ทุยได้รวบรวมคำถามที่สอบถามมากันมาก มีดังนี้
- RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อนับรวมกับ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันแบบบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วห้ามเกิน 500,000 บาท
ถ้าเรารายได้ 500,000 บาทต่อปี เราก็จะซื้อได้ 150,000 บาทต่อปีเท่านั้น แต่ว่าเราต้องระวังอีกเงื่อนไขด้วยก็คือ ถ้าเราไปนับรวมกับ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ประกันแบบบำนาญกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) แล้ว ห้ามเกิน 500,000 บาทเด็ดขาด - RMF ปรับเกณฑ์ใหม่ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
เงื่อนไขของปีก่อนๆ จะมีขั้นต่ำที่ 5,000 บาท หรือ ถ้า 3% ของรายได้ต่อปีนั้น ๆ น้อยกว่า 5,000 บาทก็ซื้อแค่ 3% แต่ปีนี้ปรับเกณฑ์ใหม่ ใจดีขึ้น ไม่ต้องมีขั้นต่ำในการซื้อแล้ว สามารถซื้อได้ตามขั้นต่ำของกองทุนเลย แต่มีเงื่อนไขเดิมที่ติดมาคือ ถ้าซื้อแล้ว ก็ต้องซื้อต่อเนื่องปีเว้นปีนะ ปีที่ไม่มีรายได้ก็ไม่ต้องซื้อ แต่ปีถัดมาต้องกลับมาซื้อเพื่อให้ไม่ผิดเงื่อนไขของ RMF
- จะขายคืนได้ต่อเมื่อเราอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องถือมาอย่างน้อย 5 ปีเท่านั้น
เงื่อนไขที่เราจะขายได้นั้นต้องประกอบไปด้วย 2 เงื่อนไขหลักก็คือ อายุต้องครบ 55 ปีบริบูรณ์ อารมณ์จัดงานวันเกิดเป่าเค้กแบบวันชนวันเลย แล้วอีกเงื่อนไขก็คือต้องถือมาอย่างน้อย 5 ปีบริบูรณ์
แต่ความพิเศษจะอยู่ที่ว่า สมมติตอนนี้เราอายุ 50 ปี แล้วเราซื้อมาทุกปีติดต่อกันสมมติปีละ 100,000 บาท แล้วพอเราอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว เราก็จะถือมา 5 ปีเป๊ะ ๆ เราสามารถขายที่เราทยอยซื้อได้ทั้งหมด แม้ว่าตอนเราอายุ 54 ปีที่เราเพิ่งซื้อมา 100,000 บาทนั้นถือมาแค่ 1 ปีเท่านั้น ไม่เหมือนกับ SSF ที่นับแยกก้อนที่เราซื้อตามปีเลย
- ห้ามผิดเงื่อนไข
การผิดเงื่อนไข พี่ทุยขอไม่พูดถึงว่าโทษมีค่าปรับอะไรยังไงบ้าง แต่พี่ทุยบอกได้เลยว่าเยอะมาก ๆ ไม่ควรผิดเงื่อนไขไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม พี่ทุยเชื่อว่าถ้าเรามีการวางแผนการเงินที่ดี เราไม่มีความจำเป็นต้องไปแตะต้องมันเลยอย่างแน่นอน
สำหรับใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการซื้อขาย RMF สามารถไปแจ้งเรื่องร้องเรียนกับทางกรมสรรพากร ได้เลย ที่นี่
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ มัลติ อินคัมพลัส (SCB Multi Income Plus Fund – SCBMPLUS)
สินทรัพย์ที่ลงทุน: เน้นลงทุนตราสารหนี้ของไทย, ตราสารหนี้ต่างประเทศ, REIT และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ระดับความเสี่ยง: ปานกลาง
Morningstar: 4 ดาว
SCBMPLUS เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน?
สำหรับ SCBMPLUS เนี้ยจะมีความคล้ายคลึงกับ SCBPLUS แต่จะแตกต่างตรงที่ SCBMPLUS สามารถขายได้ทุกเดือน เลยทำให้ SCBMPLUS มีสภาพคล่องที่สูงกว่า แต่แน่นอนว่าผลตอบแทนโดยรวมของ SCBMPLUS จะมีแนวโน้มที่ได้ต่ำกว่า SCBPLUS เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีระยะเวลาได้สั้นมากกว่านั่นเอง
พี่ทุยอยากจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้าใครชอบ SCBPLUS แต่อยากให้ขายได้บ่อย ๆ หน่อยก็มาทาง SCBMPLUS ได้เลย ตอบโจทย์แน่นอน!
ชี้เป้า 6 “กองทุนติดดาว” จาก บลจ. ไทยพาณิชย์
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นทุนปันผล (SCB Dividend Stock Open End Fund – SCBDV)
สินทรัพย์ที่ลงทุน: หุ้นไทย
ระดับความเสี่ยง: สูง
Morningstar: 4 ดาว
SCBDV เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน?
สำหรับ SCBDV ก็เหมาะกับคนที่เป็นพันธุ์แท้หุ้นไทยเหมือนกับ SCBSE ที่พี่ทุยบอกไปก่อนหน้านี้ แต่ SCBDV เค้าจะเน้นลงทุนหุ้นไทยที่มีการเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อโอกาสในการสร้างกระแสเงินสดตลอดการลงทุน เนื่องจาก SCBDV จะมีนโยบายการจ่ายปันผล
นอกจากนี้ SCBDV ก็ยังได้รับรางวัล “กองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยม ปี 2020 ประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap)” โดย Morningstar อีกด้วยนะ
เรียกได้ว่าใครที่อยากได้เงินปันผลเรื่อย ๆ พี่ทุยว่าก็ต้อง SCBDV นี่แหละ ได้รางวัลมาการันตีซะขนาดนี้!
ชี้เป้า 6 “กองทุนติดดาว” จาก บลจ. ไทยพาณิชย์
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (ชนิดจ่ายเงินปันผล)
สินทรัพย์ที่ลงทุน: หุ้นสหรัฐอเมริกา
ระดับความเสี่ยง: สูง
Morningstar: 4 ดาว