
มีหลักประกันมั่นคงให้ชีวิตในวัยเกษียณ ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้เรามากขึ้น ซึ่งหากเป็นข้าราชการ หรือพนักงานประจำ จะได้รับสวัสดิการจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น แต่สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือกลุ่มแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า-แม่ค้า เกษตรกร
ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เป็นกลุ่มที่ไม่มีสวัสดิการดังกล่าว ควรมองหาหลักประกันอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิต และกำลังชั่งใจเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง
ปัญหานี้จะหมดไป ถ้าคุณเป็นแรงงานนอกระบบ ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 (1) และออมเงินกับ กอช. เพื่อรับสิทธิไปพร้อมๆ กันถึง 2 ทาง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้คุณได้รับทั้งสวัสดิการพื้นฐาน และเงินบำนาญไปตลอดชีวิต เป็นการเติมเต็มความมั่นคงให้ชีวิตในวัยเกษียณ
สวัสดิการสร้างความมั่นคงในวัยเกษียณสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 แต่อยากมีบำนาญเพื่อชีวิตที่สุขสบายในอนาคต ก็สามารถย้ายมาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 แทน เพื่อสมัครสมาชิกและส่งเงินออมสะสมกับ กอช. เริ่มต้นเพียง 50 บาท สูงสุด 13,200 บาท/ปี และไม่จำเป็นต้องออมเงินกับ กอช. ทุกเดือน เดือนไหนมีมากก็ออมมาก เดือนไหนมีน้อยก็ออมน้อย เดือนไหนไม่มีจะไม่ส่งเงินออมสะสมก็ได้ ไม่เสียสิทธิใด ๆ ซึ่งการเป็นสมาชิก กอช. นอกจากจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลตามช่วงอายุสูงสุด 100% ตามช่วงอายุแล้ว คุณยังมีสิทธิได้รับเงินบำนาญขั้นต่ำ 600 บาท/เดือน สูงสุด 7,xxx บาท/เดือน รับเงินบำนาญตลอดชีวิตอีกด้วย
หากใครยังลังเลอย่ารอช้า ความมั่นคง ความสุขกาย สบายใจในยามเกษียณรอคุณอยู่ สนใจสมัครสมาชิกและออมเงินกับ กอช. ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
- แอปพลิเคชัน กอช ทั้งระบบ iOS และ Android
- ธนาคาร ธ.ก.ส., ธอส., ออมสิน และกรุงไทยทุกสาขา
- สำนักงานคลังจังหวัด สถาบันการเงินชุมชน และเครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
- ตู้บุญเติมทั่วประเทศ
- เทสโก้ โลตัส ทุกสาขา ทั่วประเทศ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองทุนการออมแห่งชาติ สายด่วนเงินออม 02-049-9000, Line : @nsf.th หรือ Facebook Page: กองทุนการออมแห่งชาติ
อยากรู้หรือไม่ ว่าสุขภาพทางการเงินของคุณยัง “ฟิต & เฟิร์ม” อยู่หรือเปล่า ? พบกับบทความจาก www.kapook.com ที่จะเป็นแนวทางให้กับคุณได้ลองเช็คสุขภาพการเงินของตัวเองแบบง่ายๆ
สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ ถ้าอยากแข็งแรงก็ต้องออกกำลังกาย เช่นเดียวกันกับความมั่นคงทางการเงิน หากต้องการมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี มีเงินเหลือใช้ ไม่ต้องลำบากในอนาคต เราควรวางแผนการใช้เงินอย่างรอบคอบ ด้วยการฟิตสุขภาพทางการเงินให้แข็งแรงตามเคล็ดลับต่อไปนี้ที่ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด
- ตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเองก่อน
ก่อนอื่นเราต้องทราบสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองเสียก่อนว่า มีรายรับเดือนละเท่าไร มีค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน รายรับครอบคลุมรายจ่ายในแต่ละเดือนไหม มีหนี้สินหรือไม่ หากมองภาพรวมได้ทะลุปรุโปร่ง จะช่วยให้บริหารจัดการเงินได้อย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น ทำให้ทราบว่าในแต่ละเดือนเราเสียเงินไปกับอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ฟุ่มเฟือย เผลอใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ แทนที่จะเปลี่ยนเงินฟุ่มเฟือยส่วนนั้นมาเป็นเงินออม
2.ควบคุมค่าใช้จ่าย
เมื่อรู้สถานการณ์การเงินของตัวเองแล้ว ควรจัดสรรการใช้จ่ายให้เหมาะสม โดยตั้งเป้าเลยว่าจะควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยวิธีไหน เพื่อให้รายจ่ายไม่แซงรายรับ อุดรูรั่วตรงไหนให้เงินยังอยู่กับเรามากที่สุด ที่สำคัญคืออย่าเผลอใจใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นเด็ดขาด เพื่อจะได้มีเงินเหลือเก็บออม
3.จัดการหนี้สิน
ในกรณีมีหนี้สิน เราควรจัดการหนี้ให้หมดโดยไว และควรกันเงินส่วนที่ต้องจ่ายหนี้แต่ละเดือนให้เพียงพอ รวมถึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดและไม่สร้างหนี้เพิ่มอีก
4.หารายได้เพิ่ม
สำหรับคนที่วางแผนการเงินก็แล้ว จัดการหนี้สินก็แล้ว ประหยัดก็แล้ว แต่รายจ่ายก็ยังแซงรายรับทุกเดือน แบบนี้อยู่เฉยคงไม่รอด ลองมองหารายได้เสริมที่พอจะทำได้ เช่น ค้าขายออนไลน์ หรือขยันเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ช่วงไหนว่างก็หางานเพิ่ม ให้เรามีรายได้ที่มากกว่าเดิม
5.ต่อยอดเงินออม
เราต้องหมั่นสร้างวินัยการออมเงิน โดยการพยายามบังคับตัวเองให้ออมเงินทุกเดือน อย่างน้อยทยอยออมเงินทุกวัน วันละ 20-100 บาทก็ยังดี หรือถ้าเดือนไหนมีรายได้มากกว่าปกติก็ควรนำเงินที่ได้เพิ่มมาเก็บออมไว้ พยายามออมเงินอย่างสม่ำเสมอและอย่านำเงินออมนั้นไปใช้จ่ายอย่างอื่น ถ้าเราขยันออม สุขภาพทางการเงินของเราก็จะแข็งแรง เสมือนกับการออกกำลังกาย ซึ่งถ้าเราทำต่อเนื่อง ร่างกายก็ฟิต แอนด์ เฟิร์ม