
เฟอร์รารี่ 488 เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดย บริษัทรถยนต์สัญชาติอิตาลี เฟอร์รารี่ เปิดตัวครั้งแรกในงานเจนีวามอเตอร์โชว์ปี ค.ศ. 2015 โดยมีโฉม จีทีบี (GTB) เป็นโฉมแรกของรุ่น 488 เป็นรุ่นที่มาแทนที่สายการผลิต 458 ที่ได้ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 2015 488 ใช้เครื่องยนตร์ขนาด 3.9 ลิตร ทวินเทอร์โบชาร์จ V8 ซึ่งเล็กลงกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ เครื่องยนตร์สามารถทำแรงม้าได้ 670 PS (493 kW 661 hp) ที่ 8,000 rpm และแรงบิดขนาด 760 N·m (561 lb·ft) ที่ 3,000 rpm รถใช้ระบบเกียร์ดูเอิลคลัทซ์-7 จังหวะ จากฟอร์มูลาวัน รูปลักษณ์ภายนอกของรถมีความคล้ายคลึงกับ 458 และลาร์เฟอร์รารี่ ก่อนหน้านี้มาก
488 จีทีบี (488 GTB) เป็นโฉมแรกของสายรุ่น 488 เป็นประเภทรถ 2 ที่นั่ง 2 ประตูแบบเบอร์ลิเนตตา เพื่อมาแทน458 อิตาเลียที่เป็นรถหลังคาแข็ง เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 และอย่างเป็นทางการในตลาดที่งานเจนีวามอเตอร์โชว์ ในเดือนมีนาคม 2015
ผู้ผลิตได้ออกมาประกาศว่าสมรรถภาพของรถในการทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. อยู่ที่ 3.0 วินาที 0-200 กม./ชม. ที่ 8.3 วินาทีและทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 330 กม./ชม. (205 mph) เป็นเวอร์ชันรถแข่งของ 488 จากโฉม จีทีบี ซึ่งมาแทนรถแข่งรุ่น 458 อิตาเลีย จีทีซี และอิตาเลีย จีที3 ก่อนหน้านี้ ซึ่งยังคงใช้เครื่องยนตร์แบบเดียวกันกับจีทีบีปกติ ขนาด 3.8 ลิตร V8
488 สไปเดอร์ (488 Spider) เป็นโฉมรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง 2 ที่นั่ง แบบโรดสเตอร์ เปิดประทุน คล้ายกับ 458 สไปเดอร์ก่อนหน้านี้ รถได้รับการเปิดเผยเป็นรูปในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 และรถได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานแฟรงเฟิร์ตมอเตอร์โชว์ ในเดือนกันยายน 2015
488 สไปเดอร์ใช้เครื่องยนตร์รูปแบบเดียวกับ 488 จีทีบี รวมถึงเครื่องยนตร์ขนาด 3.9 ลิตร V8 670 แรงม้า แต่รถมีน้ำหนักมากกว่าจีทีบี 50 กิโลกรัม (110 lb) ถึงอย่างไรก็ดีรถเบากว่า 458 สไปเดอร์ 10 กิโลกรัม รถสามารถทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ในเวลาเดียวกันกับ จีทีบีที่ 3.0 วินาที ขณะที่ 0-200 กม./ชม. มากกว่าเล็กน้อยที่ 8.7 วินาที ส่วนความเร็วสูงสุดทำได้ที่ 325 กม./ชม. (202 mph) สำหรับการจำหน่ายโฉมนี้ในอังกฤษคาดว่าจะจำหน่ายในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิปี 2016
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ ทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทยประเทศอิตาลีที่กรุงโรม และมีสถานกงสุลใหญ่ประจำประเทศไทย 5 แห่ง คือ ที่เมืองตูริน เจโนวา มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย และที่มีสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยที่กรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศอิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุน ในปี พ.ศ. 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย 2 โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1 โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้นสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
นักท่องเที่ยวอิตาลีมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยมีจำนวนมากน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ 12,350 คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และสายการบินไทยมีเส้นทางการบินจากกรุงเทพสู่มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมมีเพียงการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์