
เปอโยต์ 405 เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยเปอโยต์ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2530 ออกมาเพื่อทดแทนเปอโยต์ 505 และเลิกผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีเปอโยต์ 406 มาทดแทน แต่ในบางประเทศ เปอโยต์ 405 ยังมีการผลิตอยู่เพื่อแซยิดรุ่นเดิมไปก่อน เปอโยต์ 405 มีตัวถัง 2 แบบคือ ซีดาน 4 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1.4 ไปจนถึง 2.0 ลิตรทั้งแบบเบนซินและดีเซล มีฐานการประกอบที่ประเทศอาร์เจนตินา ,ชิลี ,อียิปต์ ,ฝรั่งเศส ,อินโดนีเซีย ,อิหร่าน ,โปแลนด์ ,ไต้หวัน ,สหราชอาณาจักรและซิมบับเว ตลอดระยะเวลาที่ทำตลาด เปอโยต์ขาย 405 ไปได้ทั่วโลก 2.5 ล้านคัน
ในประเทศไทย บริษัท ยนตรกิจ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิต นำเข้าและจำหน่ายเปอโยต์ในยุคนั้น เคยนำเข้าเปอโยต์ 405 มาจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีรุ่น 405 GR และ 405 Mi16 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2536 จึงมีการไมเนอร์เชนจ์ให้ดูสวยงามขึ้น ยุบรุ่น GR และ Mi16 ลง เหลือแต่รุ่น SRi เครื่องยนต์เปลี่ยนมาใช้เป็นแบบ 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 2.0 ลิตร 123 แรงม้า ภายในออกแบบให้ดูสวยงามขึ้น มีลายไม้แผ่นเล็กๆ แปะอยู่ตรงแดชบอร์ดฝั่งคนนั่ง ล้อลายเดิม แต่กันชนหน้า-หลังที่เป็นแบบสเกิร์ตในตัว กับสปอยเลอร์บนฝากระโปรงท้ายไม่มีให้แล้ว ภาพลักษณ์ของรถจึงออกไปทางแนวหรูขึ้น ต่อมาก็มีรุ่นประหยัด 405 GRi เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร 90 แรงม้า ทำราคาแข่งกับรถญี่ปุ่น ก่อนที่ 405 จะหลีกทางให้กับการมาของ 406 ก็มีการนำชื่อ Mi16 กลับมาขายใหม่โดยใช้บอดี้ของ SRi ใส่ชุดแต่งสปอร์ตไฟหน้ากลม 4 ดวง และนำเครื่องยนต์จาก 306 S16 2.0 ลิตร 155 แรงม้ามาใช้ รถรุ่นนี้ในปัจจุบันถือว่าหายากมาก เพราะในช่วงที่ยังวางจำหน่ายอยู่ ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ในปี 1938 หลังเยอรมนีผนวกบ้านพี่เมืองน้องอย่างออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน ในที่สุด ฮิตเลอร์ส่งกองทัพเข้ายึดประเทศออสเตรียและประเทศเชโกสโลวาเกียโดยไม่สนคำครหา กลิ่นของสงครามเข้าปกคลุมทั้งทวีปยุโรป สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต้องการเลี่ยงสงครามจึงได้จัดการประชุมมิวนิกกับเยอรมนีในเดือนกันยายน เพื่อเป็นหลักประกันว่าเยอรมนีจะไม่รุกรานดินแดนใดไปมากกว่านี้และจะไม่ก่อสงคราม แต่ขณะเดียวกัน ต่างฝ่ายก็ต่างสั่งสมกำลังเพื่อเตรียมเข้าสู่สงคราม
ในปี 1939 การบุกยึดโปแลนด์ของเยอรมนีได้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น ตามด้วยการบุกครองประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและยังทำกติกาสัญญาไตรภาคีเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของยุโรปภาคพื้นทวีป ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก “ไรช์เยอรมัน” (Deutsches Reich) เป็น “ไรช์เยอรมันใหญ่” (Großdeutsches Reich)
หลังความล้มเหลวในปฏิบัติการบาร์บารอสซาที่สหภาพโซเวียต เยอรมันก็ถูกรุกกลับอย่างรวดเร็วจากทั้งสองด้าน เมื่อกองทัพแดงบุกถึงกรุงเบอร์ลินในเดือนเมษายน 1945 ฮิตเลอร์ปฏิเสธที่จะหนีออกจากกรุงเบอร์ลินและตัดสินใจยิงตัวตาย หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เยอรมนีก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก (ค.ศ. 1945–1990)
หลังเยอรมนียอมจำนนแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้แบ่งกรุงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีออกเป็น 4 เขตในยึดครองทางทหาร เขตฝั่งตะวันตกซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ได้รวมกันและจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า “สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ส่วนเขตทางตะวันออกซึ่งอยู่ในควบคุมของสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ทั้งสองประเทศนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “ประเทศเยอรมนีตะวันตก” มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงบ็อน และ “ประเทศเยอรมนีตะวันออก” มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงเบอร์ลินตะวันออก
เยอรมนีตะวันตกมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐภายใต้รัฐสภากลาง และใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy) เยอรมนีตะวันตกรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมากตามแผนมาร์แชลล์เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมของตน เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจนถูกเรียกว่า “ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ” (Economic miracle) เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในปี 1955 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ในปี 1957
เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐในกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและทางทหารของสหภาพโซเวียต และยังเป็นรัฐร่วมภาคีในกติกาสัญญาวอร์ซอ และแม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะอ้างว่าตนเองปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่อำนาจทางการเมืองการปกครองทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของโปลิตบูโรแห่งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (SED) ซึ่งมีหัวแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ พรรคฯยังมีการหนุนหลังจาก “กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ “หรือที่เรียกว่า “ชตาซี” (Stasi) อันเป็นหน่วยงานรัฐขนาดใหญ่ที่ควบคุมเกือบทุกแง่มุมของสังคม เยอรมนีตะวันออกใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทุกอย่างถูกวางแผนโดยรัฐ