
รามเกียรติ์ 241
เมื่อกาลสูรถึงเมืองจักรวาล ก็รีบเข้าเฝ้าท้าวสัตลุงแล้วแจ้งถึงภาระกิจของตน ทูลว่าบัดนี้นายตนไม่เป็นสุขเนื่องจากลงกาอยู่ในภาวะสงคราม เสนาอาวุโสแห่งนครจักรวาลเปิดราชสารออกอ่านพอดีความว่า พญาทศกัณฐ์ขอเชิญพญาสัตลุงนำทัพเข้าช่วยเหลือ ฆ่าพี่น้องรามลักษณ์ เพราะตนเกือบเอาตัวไม่รอดมาสองครั้งแล้ว พระราชาแห่งจักวาลรู้สึกแปลกใจ “ใครวะรามลักษณ์… มันเก่งมาจากไหนถึงทำให้องค์ทศกัณฐ์ผู้มีฤทธิ์หนักใจได้ เอาหละกูจะไปช่วยท้าวเธอเอง… วิรุณกาสูรเสนาข้าจงจัดทัพให้พร้อม เราจะออกเดินทางทันที”
วิรุญกาสูรจัดทัพอสูรตามหน้าตาที่ต่างกัน ทหารที่มิหน้าเป็นเสือปลาใช้ปืบคาบศิลา เหล่าที่มีหน้าเป็นสิงโตถือดาบยาว เหล่าหน้าหมีถือเกาทัณฑ์ลูกธนูอาบยาพิษ เหล้าแมงเคราใช้กริช ทหารหน้าแรดถือกระบอง พลหน้าสิงโตใช้โตมรปํนอาวุธ พวกหน้าเป็นกาถือหอก จึงบอกได้ว่าเมืองจักรวาลเป็นประเทศที่มีเผ่าพันธุ์รากษสที่หลากหลาย หรืออาจจะเป็นนครที่มีชนเผ่าต่างๆอาศัยอยู่ กองทัพจึงมีทหารมากมายหลายหน้าเหลือเกิน เมื่อพญาสัตลุงเห็นว่าไพร่พลพร้อมก็เสด็จเข้าสรงน้ำแต่งองค์ เหน็บคทาเข้าเอ็วแล้วคว้าศรคู่กายก้าวขึ้นราชรถ นำทัพอย่างงามสง่ายิ่ง
ในเวลาเดียวกันนนทสูรถึงเมืองมัชชุวารีพอดี เมื่อนายประตูเห็นว่าเป็นทูตจากลงกาถือสารมาก็รีบเปิดเมืองให้เข้าโดยง่าย นนทสูรลงจากม้ารีบรุดเฝ้าแล้วถวายราชสารกับพระหัตถ์ของพญาตรีเมฆ เมื่อพระนัดดาอ่านข้อความบนแผ่นทองจบพาลรู้สึกโกรธจนตาแดงก่ำ “อะไรนี่….บัดนี้วงศ์พรหมถูกท้าทายจากมนุษย์ตัวเท่าเล็บแล้วหรือ แล้วข้าก็จะได้แก้แค้นแทนพ่อ” ไม่มีคำถามใดๆจากหลานทศกัณฐ์ ตรีเมฆน้ำตาคลอเมื่อคิดถึงการตายของตรีเศียรผู้เป็นพ่อ “วิรุญราชเสนาข้าจงจัดทัพ ข้าจะยกพลไปช่วยพระปิตุลา”
วิรุญราชเสนาอาวุโสผู้รับราชการตั้งแต่รัชสมัยของพญาตรีเศียร มารเฒ่ารู้ดีว่านี่คือโอกาสที่เมืองมัชชวารีจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง มัชชวารีเคยเป็นนครที่หรูหรา แต่หลังจากพญาตรีเศียรเสียชีวิตด้วนน้ำมือมนุษย์ ชื่อแห่งมัชชวารีก็เหมือนจะถูกลืมเลือนจากราชสำนักลงกา นี่แหละเป็นโอกาสทองที่องค์ราชาหนุ่มตรีเมฆจะได้แจ้งเกิดในสภาอสูรเสียที วิรุญราชจัดทหารที่แข็งแรงที่สุด มีความสามารถสุด อาวุธที่มีอานุภาพมากที่สุด เพราะนี่คือตัวแทนแห่งมัชชวารี กองพลนี้จะได้แก้แค้นแทนเหนือหัวในพระบรมโกฐ
องค์ตรีเมฆเข้าสรงน้ำ แต่งองค์เยี่ยงกษัตริย์ กายสีหงดินแก่ (สีเลือดหมูอ่อน) เสด็จขึ้นช้างสีดำขลับ อันมีเชื้อสายจากตระกูลฉัททันต์ (ปากแดง ฝ่าเท้าแดง) อันถูกลักษณะเป็นช้างมงคลครบทุกประการ